เมนู

เป็นจริง เพียงใด1 เราก็ยังไม่ปฏิญาณ ฯลฯ เพียงนั้น ก็แลญาณทัสสนะ
ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้
ภพใหม่ไม่มี.

จบ อัสสาทสูตรที่ 6

7. อัสสาทสูตรที่ 3



ว่าด้วยคุณโทษและเครื่องสลัดออกแห่งขันธ์ 5



[62] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้าคุณแห่งรูปจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในรูป แต่
เพราะคุณแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในรูป ถ้าโทษ
แห่งรูปจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะ
โทษแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป ถ้าเครื่อง
สลัดออกแห่งรูปจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงออกไปจากรูปได้
แต่เพราะเครื่องสลัดออกแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงออกไป
จากรูปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา
ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึง
กำหนัดในวิญญาณ แต่เพราะคุณแห่งวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย
จึงกำหนัดในวิญญาณ ถ้าโทษแห่งวิญญาณจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลาย
ก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ แต่เพราะโทษแห่งวิญญาณมีอยู่
ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ ถ้าเครื่องสลัดออกแห่ง
วิญญาณจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงออกไปจากวิญญาณได้
แต่เพราะเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงออก
ไปจากวิญญาณได้.
1. ตรงนี้ บาลีไม่มีคำว่า "เอวํ" เหมือนข้อ 60

[63] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ยิ่งซึ่งคุณโดย
ความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความ
เป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ ตามความเป็นจริง
เพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไป มีใจอัน
หาขอบเขตมิได้อยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายรู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความ
เป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่ง
อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไป มีใจอันหาขอบเขตมิได้อยู่ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์.
จบ อัสสาทสูตรที่ 7

8. อภินันทนสูตร



ว่าด้วยผลแห่งความเพลิดเพลินและไม่เพลิดเพลินในขันธ์ 5



[64] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ผู้ใดเพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์
เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินเวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใด
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์.
[65] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลไม่เพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่า
ไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นพ้นไป